วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก  ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือรุสโซ (Rousseau) ฟรอเบล (Froebel) และเพสตาลอสซี (Pestalozzi) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและการกระทำใดๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (good - active)
2.ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองหากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ
3.รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่นการจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
4.รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญเด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติคือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตนมิใช่การเรียนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย
5.เพสตาลอสซีมีความเชื่อว่าคนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลสคนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคม คล้อยตามสังคม และคนธรรมซึ่งมีลักษณะของการรู้จักผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะดังกล่าว
6.เพสตาลอสซีเชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
7.ฟรอเบลเชื่อว่าควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็กอายุ 3 – 5 ขวบโดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
8.ฟรอเบลเชื่อว่าการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่นๆ
2.การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตนเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
3.ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กคือการจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติได้แก่
3.1 ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
3.2 ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
3.3 ให้เด็กได้เรียนจากของจริงและประสบการณ์จริง
3.4 ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน
4.การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก  ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

สรุป  ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ คือ ธรรมชาติเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

อ้างอิง :   http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7 เข้าถึงเมื่อ : 27 มิถุนายน 2554
http://surinx.blogspot.com/เข้าถึงเมื่อ: 27 มิถุนายน 2554
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm เข้าถึงเมื่อ: 23 กรกฎาคม 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น